เมนู

นั้นเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้ วันนี้คือเดี๋ยวนี้ได้ตั้งอยู่ในโอวาทของ
พระผู้เป็นเจ้ามหาโมคคัลลานเถระ บวชในพระศาสนา มีศีรษะโล้น ห่มผ้า
สังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาต นั่งฉันภิกษาหาร คือนั่งที่โคนต้นไม้ คือบนอาสนะที่
สงัด ณ โคนต้นไม้ เป็นผู้ได้ฌานอันไม่มีวิตก ด้วยการบรรลุพระอรหัตผล
ซึ่งมีทุติยฌานเป็นบาท.
บทว่า สพฺเพ โยคา ได้แก่ เครื่องเกาะเกี่ยวแม้ทั้ง 4 มีเครื่อง
เกาะเกี่ยวคือกามเป็นต้น. บทว่า สมุจฺฉินฺนา ความว่า ตัดทิ้งคือละโดย
ชอบทีเดียวตามสมควร ด้วยปฐมมรรคเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบ อรรถกถาวิมลาเถรีคาถา

3. สีหาเถรีคาถา


[441] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าถูกกามราคะเบียด
เบียน มีจิตฟุ้งซ่าน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้
เพราะไม่มนสิการโดยอุบายที่แยบคาย ข้าพเจ้าถูก
กิเลสกลุ้มรุม เป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็น
สุข ตกอยู่ในอำนาจของจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึง
ไม่ได้ความสงบจิต ข้าพเจ้าเป็นผู้ผอมเหลือง ปราศ-
จากผิวพรรณอยู่ 7 ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้ง
กลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถือเอา
เชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่าจะผูกคอตายเสียในที่นี้

ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ข้าพเจ้าทำ
บ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงที่คอ ทันใดนั้น
จิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้นจากกิเลส.

จบ สีหาเถรีคาถา

3. อรรถกถาสีหาเถรีคาถา


คาถาว่า อโยนิโสมนสิการา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี
ชื่อสีหา.
แม้พระเถรีชื่อสีหาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน
พุทธุปปาทกาลนี้ เป็นธิดาของน้องสาวสีหเสนาบดี กรุงเวสาลี ญาติพี่
น้องทั้งหลายตั้งชื่อให้ว่า สีหา เพราะตั้งตามชื่อลุงของเธอ นางสีหานั้นรู้ความ
แล้ว วันหนึ่งพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่สีหเสนาบดี เธอฟังธรรมนั้นได้
ศรัทธา ขออนุญาตบิดามารดาบวช ครั้นบวชแล้วแม้เริ่มวิปัสสนาก็ไม่อาจทำ
จิตที่พล่านไปในอารมณ์อันกว้างใหญ่ภายนอกให้กลับได้ ถูกมิจฉาวิตกเบียด
เบียนอยู่ 7 ปี ไม่ได้ความชื่นจิตจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันลามก
ของเรานี้ เราจักผูกคอตายดังนี้ ถือบ่วงคล้องที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงนั้นที่คอของ
ตน น้อมจิตไปในวิปัสสนาด้วยอำนาจบุญกุศลที่ตนสั่งสมไว้ในก่อน ด้วยความ
เป็นผู้มีภพมีในที่สุด บ่วงที่ผูกได้อยู่ตรงที่คอ. พระเถรีนั้นเจริญวิปัสสนาได้
บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในขณะนั้นเอง. เพราะญาณแก่
กล้าแล้ว. บ่วงที่ผูกคอไว้หลุดออกพร้อมกับเวลาที่บรรลุพระอรหัตนั่นแหละ.
พระเถรีตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า